รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
1.การออกกำลังกาย
1.รู้จักประมาณตน
การประมาณตนในการออกกำลังกายแต่พอควร
จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญอาหารและพลังงานส่วนเกินได้ดี มีข้อสังเกตคือ
ถ้าออกกำลังกาย เหนื่อยแล้ว ยังฝืนต่อด้วยความหนักเท่าเดิม โดยไม่เหนื่อยเพิ่มขึ้น
และพักไม่เกิน 10นาที ก็รู้สึกหายเหนื่อย แสดงว่า ร่างกายทนได้
ตรงข้ามถ้าออกกำลังกายจนเหนื่อยทนไม่ไหว หรือพักแล้วยังไม่หายเหนื่อย
แนะนำให้หยุด เพราะขืนเล่นต่อไป อาจเกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้
2.มีโรคประจำตัวหรือไม่ หากมี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเลือกวิธีการออกกำลังกายเพื่อความปลอดภัย
3.แต่งกายเหมาะสม ควรใช้ผ้าฝ้าย
เพื่อระบายความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย
เพราะความร้อนจะเป็นตัวจำกัดการออกกำลังกาย แล้วยังทำอันตรายต่อระบบต่างๆ
ในร่างกายด้วย ส่วนการเลือกใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะกับสภาพสนาม
อาจส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหวและเกิดการบาดเจ็บได้
4.เลือกเวลาออกกำลังกาย
เวลาเช้าตรู่และตอนเย็นเหมาะที่สุดในการออกกำลังกายมากกว่าตอนกลางวัน
ซึ่งจะทำให้เหนื่อยเร็วและได้ปริมาณน้อย บางรายอาจหน้ามืดเป็นลมก็มี
ทั้งนี้ควรเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน เพราะจะส่งผลดีต่อการปรับตัวของร่างกาย
5.สภาพกระเพาะอาหาร
ควรงดอาหารหนักเพื่อป้องกันการจุกเสียดก่อนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
โดยเฉพาะกีฬาที่มีการกระทบกระแทก เช่น รักบี้ฟุตบอล บาสเกตบอล
รวมถึงกีฬาที่ต้องเล่นเป็นเวลานานๆ เช่น วิ่งมาราธอน จักรยานทางไกล
ซึ่งควรรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่ายในปริมาณไม่ถึงอิ่มเป็นระยะๆ
จะดีกว่า
6.ดื่มน้ำเพียงพอ หลังการออกกำลังกาย
ร่างกายจะสูญเสียเสียน้ำได้ถึง 2 ลิตร หรือมากกว่านั้น ดังนั้น
ควรให้น้ำชดเชยในปริมาณเท่ากับที่สูญเสียไป โดยดื่มทีละนิดๆ เป็นระยะ
7.บาดเจ็บกลางคัน ขณะออกกำลังกาย
ให้หยุดพักจะดีที่สุด แต่หากบาดเจ็บเล็กน้อย อาจออกกำลังกายต่อได้
แต่ถ้ารู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น ก็ต้องหยุด เพราะการฝืนต่อไปอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
8.จิตใจต้องพร้อม
ควรทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง หากมีเรื่องไม่สบายใจ ก็ไม่ควรออกกำลังกาย
เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
9.ความสม่ำเสมอ
ไม่ว่าจะออกกำลังกายให้สุขภาพแข็งแรงหรือลดน้ำหนัก
แต่จะได้ผลแค่ไหนขึ้นกับปริมาณ และความหนักเบาของการออกกำลังกายด้วย
10.พักผ่อนเพียงพอ หลังการออกกำลังกาย
จำเป็นต้องพักผ่อนให้เพียงพอ
เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูสภาพของตนเองและพร้อมรับการออกกำลังกายครั้งใหม่อย่างมีพลังต่อไป
2. การกินอาหาร “อาหารคือตัวเรา” นี่คือคำกล่าวที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะสิ่งต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นตัวเอราล้วนมาจากอาหารที่กินเข้าไป เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เราได้อาหารจากแม่เพื่อไปสร้างโครงสร้างเลือดเนื้อจนกระทั่งคลอดออกมาเป็นทารก และเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เราต้องกินอาหารทุกวัน เพราะอาหารไม่เพียงแต่จะนำไปประกอบเป็นส่วนต่าง ๆของร่างกายเท่านั้น แต่ยังทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างเป็นสุข ถ้ามีภาวะโภชนาการที่ดี (หมายถึงการกินที่ถูกต้อง) แต่ถ้าหากกินอาหารไม่ถูกหลักหรือไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดปัญหาภาวะโภชนาการได้ในปัจจุบันนี้ คนไทยยังประสบปัญหาโภชนาการอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการขาดสารอาหาร เช่น ขาดสารไอโอดีน โรคโลหิตจาง ฯลฯ เป็นต้น โรคเหล่านี้ทำให้เด็กมีความเจริญเติบโตช้า และมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองผิดปกติ เจ็บป่วยง่าย ไม่ใช่แต่เด็กอย่างเดียว ผู้ใหญ่ก็มีผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ สมรรถภาพทางร่างกดายในการทำงานต่ำ ในขณะเดียวกันถ้าภาวะโภชนาการเกิน ก็จะเป็นปัญหาเหมือนกัน เช่น โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจขาดเลือด มะเร็ง ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ ปัญหาทางด้านโภชนาการของคนไทยนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่หนึ่งในสาเหตุสำคัญ คือคนไทยส่วนมากยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกต้อง จึงทำให้ขาดความรู้และความคิดที่ดีต่อการกินอาหาร เพื่อการมีภาวะโภชนาการและสุขอนามัยที่ดี |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น